Avareum Market Outlook 2024: Real-World Assets (RWAs)

Avareum Market Outlook 2024: Real-World Assets (RWAs)

Introduction

คำว่า “Real World Asset” หรือเรียกย่อ ๆ ว่า “RWA” ตอนนี้กลายเป็นคำที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายและในทุก ๆ กับคนในวงการคริปโต แต่สำหรับคนทั่วไปที่ยังไม่เข้าใจถึงคำนี้อย่างลึกซึ้ง อาจจะจำกัดความเป็นไปได้ของสินทรัพย์ประเภทนี้ว่าเป็นการนำ “สินทรัพย์ทางกายภาพที่อยู่นอกโลกคริปโต” นำมาผ่านกระบวนการ Tokenization เพื่อแปลงเป็น Token และสามารถนำมาใช้งานในโลกคริปโตได้ แต่คำว่า RWA นั้นไม่จำกัดแค่ว่าการนำหุ้น, อสังหาริมทรัพย์, ตราสารหนี้ หรือ พันธบัตรรัฐบาลมาผ่านกระบวนการ Tokenization เท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วขอบเขตของสิ่งเหล่านี้ค่อนข้างกว้าง มันอาจจะรวมไปถึงการนำผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจาก “กิจกรรมทางเศรษฐกิจ” มาผ่านการทำเป็น “Yield Token” ก็ได้เหมือนกัน เราสามารถดูภาพรวมโปรเจค RWA ต่าง ๆ ในปัจจุบัน ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2024 ได้ตามรูปด้านล่าง

ความคิดเห็นของทีมวิจัย Avareum มองว่า การที่สามารถดึงเม็ดเงินใหม่เข้ามาได้ ผ่าน RWA จะทำให้ตลาดคริปโตและโลกของ DeFi เติบโตค่อนข้างมาก เพราะเม็ดเงินจะไม่ได้จำกัดอยู่กับสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างคริปโตเท่านั้น แต่จะรวมถึงตลาดข้างนอกที่เป็นโลกการเงินแบบเก่า (Traditional Finance) ซึ่งเราจะสามารถนำสินทรัพย์ดังกล่าวเข้ามาต่อยอดบนโลก DeFi และสร้างโอกาสทางการเงินอีกมากมาย

RWA Use Case

โดยการใช้งานปัจจุบันของกลุ่ม RWA ที่มีอยู่ในโลกคริปโตคือการนำสินทรัพย์ดังกล่าวมาใช้เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันเพื่อกู้สกุลเงินดิจิทัลอย่าง USDT, USDC หรือ DAI ออกไป โดย Protocol ต่างจะประเมินหลักประกันที่นำมาวาง ว่าสามารถให้วงเงินได้เท่าไร ซึ่งสินทรัพย์แต่ละประเภทจะได้วงเงินไม่เท่ากันขึ้นกับความเสี่ยงในเรื่องการแกว่งของราคาสินทรัพย์นั้น ๆ ตัวสินทรัพย์ที่นำมาวางค้ำประกันอย่าง RWA จะถูกเปลี่ยนเป็น Non-Fungible Token (NFT) โดย NFT ดังกล่าวจะถูกทำเป็น “Fractional ” นั้นหมายความว่าสินทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน 1 ชิ้นจะสามารถมีจำนวน NFT ได้หลายชิ้น ยกตัวอย่างการทำ Tokenization ของอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าค่อนข้างสูงจะถูกแบ่งออกเป็น NFT หลาย ๆ ชิ้น เช่นบ้าน 1 หลังอาจจะประกอบไปด้วย NFT 10 ชิ้นเป็นต้น ให้เรานึกภาพของการซื้อกองทุนอสังหาริมทรัพย์อย่าง REIT ที่มีการแบ่ง Unit ของการซื้อขายในสินทรัพย์ที่กองทุนได้ไปลงทุน นี้คือการใช้งานหลัก ๆ ที่มีอยู่ตอนนี้ ที่ยังไม่ได้มีการต่อยอดไปในส่วนของ DeFi ในรูปแบบอื่น โดยการแปลง Traditional ไปเป็น Crypto นั้นมี Traditional Asset หลายตัวที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็น หุ้น, ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ได้แก่ น้ำมันดิบ ทองคำ เงิน และแร่ต่าง ๆ  นอกจากนี้ยังรวมไปถึงตลาดพวกของสะสมราคาแพง ได้แก่ งานศิลปะ นาฬิกา ไวน์ เป็นต้น เรามาดูกันว่าขนาดของสินค้าเหล่านี้มีมูลค่าการตลาด (Market Cap.) ขนาดเท่าไรกันบ้าง

Global Equity Market Cap.

จากข้อมูลของ Visual Capitalist ณ ไตรมาส 2 ปี 2023 เราจะเห็นว่าขนาด Stock Market Size ของโลกรวมกันประมาณ $109T โดยตลาดสหรัฐอเมริกามี Market Share รั้งอันดับหนึ่งอยู่ที่ 42.5% หรือ %46.2T รองลงมาเป็นตลาด EU หรือยุโรปที่มี Market Share ที่ 11.1% หรือมี MCap ที่ 12.1% และหากเรา Forecast ในปี 2030 จะเห็นว่า Maktet Share ของประเทศสหรัฐอเมริกาจะเล็กลงเหลือเพียง 34.7% จาก 42.5% และประเทศ Developmeed Markets จะขึ้นมีรั้งอันดับสอง ที่ 21.5% ในปี 2050 จะมีการสลับลำดับอีกครั้งคือตลาดประเทศ Emerging Markets จะขึ้นมาอยู่อันดับสองแทนจากปี 2030 ที่มี Market Share 17.4% ในปี 2050 จะเพิ่มขึ้น 6.7% เป็น 24.1% รองเพียงสหรัฐอเมริกา

Global Real Estate Market Cap

Global Real Estate Market Cap ในปี 2023 ได้เติบโตมากถึง $7.24T และมีการคาดการณ์จากงานวิจัยของ IMRC Group ในเรื่องอัตราการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลกคาดว่าจะเติบโตในอัตราเฉลี่ย 1.9% ต่อปีในช่วงระหว่างปี 2024 ถึง 2023 โดยในปี 2023 คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ $8.65T โดยการเติบโตจะมาจากการขยายตัวของสังคมเมืองไปสู่แถวชานเมืองมากขึ้น และในสภาวะตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไปนโยบายการเงินหลาย ๆ ประเทศอาจจะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจเกิดขึ้นโดยการลดอัตราดอกเบี้ย ทำให้ต้นทุนการเงินมาซื้ออสังหาริมทรัพย์ถูกลง โดยสินทรัพย์เหล่านี้จะประกอบไปด้วย ที่ดินเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย การซื้อเพื่อเชิงพาณิชย์ และการซื้อที่ดินเพื่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม

Commodity Market Cap

ในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ เราจะเจาะเป็นรายตัวในสินค้าที่มีความนิยมในการซื้อขายว่ามีมูลค่าการตลาดอยู่เท่าไร ณ วันที่ทำข้อมูลในวันที่ 10 มิถุนายน 2024

  • Gold Market Cap มูลค่าอยู่ที่ $15.521 T
  • Silver Market Cap มูลค่าอยู่ที่ $1.668 T
  • Crude Oil Market Cap เป็นส่วนที่ค่อนข้างยากในการประเมินว่ามูลค่าตลาดของ Crude Oil นั้นจะอยู่ที่จุดไหนเพราะจะถูกแบ่งเป็น Proved of Reserve คือปริมาณน้ำมันที่กักเก็บอยู่ในชั้นหินที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีอยู่จริง กับ Un-Proved ที่ยังไม่มีความแน่ชัด แต่ถ้าอ้างอิงจากตัวเลขในปี 2022 ที่มีการพิสูจน์ไว้แล้ว ตัว Proved Reserve จะมีปริมาณอยู่ที่ 1,564 Billion Barrel ซึ่งมูลค่าของน้ำมันดิบจะเป็นเท่าไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับ Location ที่มีการขุดเจาะโดยถ้าเราอ้างอิงจากราคาน้ำมันดิบในปัจจุบันที่จะพูดถึงมากที่สุดคือ WTI กับ Brent อ้างอิงข้อมูลวันที่ 10 ธันวาคม 2023 ที่ระดับราคา $71.85/bbl และ $77.91/bbl ตามลำดับ จะทำให้ Crude Oil Market Cap มีมูลค่าอยู่ระหว่าง $112T - $121T

เราจะเห็นภาพรวมแล้วว่ามูลค่าการตลาดของ Traditional Asset ในกลุ่มต่าง ๆ  มีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าตลาดคริปโต ถ้าสามารถเปิดช่องทางผ่าน RWA ได้ เงินก็จะไหลเข้ามาตลาดคริปโตเยอะมาก เพราะทางฝั่งตลาดคริปโตก็จะมี Protocol จำพวก Lending/Borrowing ที่จะสามารถนำ RWA มาวางเป็นสินทรัพย์ค้ำประกันแล้วกู้เงินออกไปเพื่อทำกิจกรรมบนโลกคริปโตได้อีกต่อหนึ่ง

จากข้อมูลของ rwa.xyz ด้านล่างเราจะเห็นว่า Total Loans Value มีมูลค่า ณ วันที่ 5 มิถุนายน 2024 อยู่ที่ $12.3B โดยมี Active Loans Value อยู่ที่ $7.9B และมี Current Avg. APR อยู่ที่ 9.67% โดยเราสามารถแบ่งตาม Sector ได้ดังนี้

กลุ่มที่มีการกู้ยืมไปมากที่สุดจากข้อมูล ณ วันที่ 5 มิถุนายน ได้แก่ Consumer, Auto, Fintech , Real Estate และ Carbon Project ตามลำดับ ซึ่งกลุ่มผู้กู้ต่าง ๆ เหล่านี้ ทำการกู้จาก RWA Lending Protocol ต่าง ๆ ดังกราฟด้านล่าง

  • อันดับ 1: Centrifuge บน Ethereum Chain
  • อันดับ 2: Maple บน Ethereum Chain
  • อันดับ 3: Goldfinch บน Ethereum Chain
  • อันดับ 4: Credix บน Solana
  • อันดับ 5: TrueFi บน Ethereum Chain

โดยถ้าเราดูจากประเทศที่มีการขอเงินลงทุนผ่าน Protocol ที่ชื่อว่า Goldfinch จะเห็นว่าจำนวนการลงทุนที่มีการลงทุนเยอะอยู่ในกลุ่มประเทศที่ด้อยพัฒนาและเข้าถึงเงินทุนได้ยาก ไม่ว่าจะเป็น Kenya, Nigeria, Philippines, Mexico, Uganda, Peru, Panama เป็นต้น

ในช่วง Crypto Winter หลาย ๆ Protocol มีรายได้ลดลง แต่มีบาง Protocol ที่พยายามหาทางรอดด้วยการหารายได้นอกเหนือจากโลกคริปโต คือความพยายามนำ Traditional Asset เข้ามาบน On-Chain เพื่อหารายได้เพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น MakerDAO RWA

MakerDAO Real World Asset

Rune Christensen ได้ออก Proposal เกี่ยวกับ End Game Plan สำหรับ MakerDAO ให้ Community ทำการ Vote เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบางอย่างไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Sub-DAO ขึ้นมาเพื่อให้สามารถตัดสินใจงานที่มันจำเพราะเจาะจงได้เร็วมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องรอการอนุมัติจาก DAO หลัก แต่ยังคงดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน และส่วนสำคัญที่น่าจับตามองคือ การเพิ่ม “Traditional Asset” มาใช้ในการ Back มูลค่าของ DAI Stable Coin

รูปภาพที่ 1: MakerDAO Protocol Revenue and Fees

Fee Structure = Stability Fee ค่า Fee ที่เก็บจากคนที่ Mint $DAI ออกไปจาก MakerDAO Protocol โดย Collateral ที่สามารถใช้ได้จะมี USDC, ETH และ ECR-20 Token ที่ได้การอนุมัติจาก DAO ซึ่งเราจะเห็นว่าตัวสินทรัพย์ค้ำประกันยังอยู่ในรูปแบบของ Crypto Native อยู่ในช่วง Bear Market ปี 2022 นั้นรายได้ของ MakerDAO ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากราคาเหรียญ Crypto ปรับตัวลดลงอย่างมาก ทำให้มีความเสี่ยงในการ Liquidate สินทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันในการ Mint $DAI ทำให้ $DAI Supply ลดลงในช่วง Bear Market ส่งผลให้รายได้ของ MakerDAO ที่ได้จาก Stability Fee ได้รับผลกระทบไปด้วย

Dai Market Cap. มีแนวโน้มลดลงช่วงต้นปี 2022 ที่ตลาดเริ่มเข้าสู่ Bear Market ซึ่งก็สอดคล้องกับรายได้ของ MakerDAO ที่ปรับตัวลดลง และจากข้อมูลจาก Messari Research จะเห็นว่าในช่วงปี 2022 ยังมี RWA เป็นสัดส่วนที่น้อยอยู่น้อยกว่า 1% ของ Total Debt ที่เกิดขึ้นจาก Asset ประเภทต่าง ๆ  ซึ่งส่วนนี้สามารถสร้างรายได้ให้กับ MakerDAO คิดเป็น 10% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งจากสัดส่วนดังกล่าวทำให้เราเห็นว่า RWA สามารถที่จะเก็บ Stability Fee ได้สูงกว่า Asset ในหมวดอื่น ๆ  เนื่องจากมีสัดส่วนน้อยกว่า 1% แต่สามารถสร้างรายได้ได้มากถึง 10% ของรายได้ทั้งหมด

รูปภาพที่ 2: สัดส่วนรายได้แบ่งตามกลุ่มของ MakerDAO Protocol

ซึ่งในช่วงปี 2023 เป็นต้นมาทาง MakerDAO ได้เพิ่มสัดส่วนของ RWA ขึ้นมาค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็นการหา Partner ร่วมมือกับทาง Block Tower และ Centrifuge เข้าซื้อ USD Treasury เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น $1.28B

$DAI Total Supply: 5,347,888,596  (อ้างอิงจากข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2024) โดยสามารถแบ่งเป็นสัดส่วนการกระจายตัวใน Asset ในกลุ่มต่าง ๆ ได้ดังนี้

รายได้ทั้งหมดจนถึง ณ ปัจจุบันจาก Stability Fee ในปี 2023 อ้างอิงจากวันที่ 17 กรกฎาคม 2023 สามารถสร้างได้ทั้งหมด $134,764,576 โดยแบ่งเป็นรายได้ที่เกิดจาก Asset แต่ละตัวดังนี้

จากกราฟแสดงถึง สัดส่วนของ DAI ที่ถูก Mint ในสินทรัพย์ค้ำประกันแต่ละชนิด

รายได้ที่ได้จากการเก็บ Stability Fee ในแต่ละสินทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการ Mint $DAI

ซึ่งตาม End Game Plan ทาง MakerDAO วางแผนไว้ว่าจะลดในส่วน RWA ลงมาไม่เกิน 25% แบบที่พยายามจะคุมสัดส่วนของ Stable Coin ไม่ให้เกิน 25% เช่นเดียวกัน

ตัว MakerDAO ถือว่าเป็นอีกเจ้าหนึ่งในโลกของ DeFi ที่ทำ Report ได้ค่อนข้างครบไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง Balance Sheet ของตัวบริษัทเองอธิบายถึงค่าใช้จ่ายของบริษัทและรายละเอียดอื่น ๆ

รูปภาพที่ 3: ค่าใช้จ่ายของ MakerDAO ปี 2024

นอกจากตัว Report ในเรื่องของค่าใช้จ่ายบริษัทแล้ว ยังมีการ Breakdown ในส่วนของ Real World Asset (RWA) ในแต่ละ Vault ที่ไปลงทุนว่ามีสัดส่วนสินทรัพย์อะไรบ้างและมี Performance เป็นยังไงผ่าน MakerDAO RWA Report

Real World Asset Protocol Overview

Real World Asset TVL Growth

มีการเติบโตของ TVL เริ่มมาตั้งแต่ปลายปี 2020 โดย Protocol แรกที่เกิดขึ้นมาอยู่ในกลุ่ม RWA Lending นั้นคือ Centrifuge ซึ่งปัจจุบันมีโปรเจค RWA ทั้งหมด 41 Protocols และมี TVL รวมกันทั้งสิ้น $4.175B (อ้างอิงข้อมูล ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2024)

โดยวันนี้เราจะมาดูภาพรวมของกลุ่ม Top 20 ของ RWA ว่าในแต่ละ Protocol ทำอะไรกันบ้าง โดยในส่วนถัดไปจะเป็นการอธิบายแต่ละ Protocol แบบคร่าว ๆ ว่าทำ RWA ในด้านไหน ก่อนที่เราจะไปเจาะลึกกับ RWA Protocol ที่ทำ Tokenization เกี่ยวกับสินค้าการเกษตรอย่าง LandX ในส่วนสุดท้ายของหัวข้อ RWA  ที่มีความแตกต่างจาก Protocol ตัวอื่น ๆ ในตลาดที่จะ Focus ในการทำ Tokenization กับสินทรัพย์ประเภทหุ้น, อสังหาริมทรัพย์, พันธบัตรรัฐบาล เท่านั้น

Staked USDT

stUSDT ถูกดำเนินการผ่าน JustLend ที่เป็นแพลตฟอร์มให้กู้ยืมเงินไร้ตัวกลาง (Decentralized Lending/Borrowing Protocol) ที่อยู่บน Tron Network โดย Justin Sun ที่เป็นผู้ก่อตั้ง Tron Network เชื่อว่า stUSDT จะเข้ามาเป็น Yu’eBao ของทาง Alipay ในโลกคริปโต ที่ทำหน้าที่เป็น Money Market Fund

Partnership

ในส่วนของ Partnership ก็เป็น Protocol ที่อยู่ในเครือของ Tron Network ซะส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น

  • TRON
  • TronLink
  • JustLend
  • BitTorrent
  • JUST
  • Tether
  • WINKLink
  • SUN

การเติบโตของ TVL

Protocol เริ่มต้นเปิดตัวมาวันที่ 4 กรกฎาคม 2023 ด้วย TVL $22.2M โดย TVL ณ ปัจจุบันอ้างอิงจากวันที่ 8 มิถุนายน 2024 มี TVL อยู่ที่ $536.77M ถือว่าเป็นมีการเติบโตที่ค่อนข้างเร็วในระยะเวลาอันสั้น แต่ยอด TVL ของ stUSDT เคยขึ้นไปทำยอด ATH ที่ $2.28B ช่วงเดือนตุลาคม 2023 จนถึงต้นเดือนมกราคา 2024 เป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือนที่ยอด TVL ของ stUSDT ทำยอดสูงสุด และหลังจากนั้นก็มีการปรับตัวลดลงมาตลอด

ในส่วนตัวมองว่าเป็น Protocol ที่มีความคลุมเคลือในเรื่องของผลตอบแทนจากการลงทุน 4.24% APY โดยที่เราไม่รู้เลยว่าทาง Asset Manager นำ Stable Coin ที่ฝากเข้ามาจำนวน $536.77M ไปลงทุน Real World Asset (RWA) อะไรบ้าง เพราะทาง Website ไม่ได้มี Dashboard ที่แสดงความโปร่งใส เรื่อง Asset Allocation และ ประเภทของ RWA

รูปภาพที่ 4: แผนภาพการทำงานของ Staked USDT Protocol

ตัว Protocol จะออกแนว Fund Management ที่เมื่อคุณฝากเงินเข้ามาแล้วในระบบ ทาง Asset Manager ก็จะนำเงินที่ลงทุนนั้นไปลงทุนใน RWA ตาม Investment Plan ที่ทาง RWA Arranger ได้เตรียมมา ซึ่งแผนนี้จะมีการ Vote ให้มีการผ่านความเห็นชอบก่อนจากทาง Advisory Council ก่อนนำมาปฏิบัติใช้งานจริง ส่วนตัวคุณเองจะได้ Derivative Token เป็นเหมือนใบหลักฐาน (Receipt) อย่าง “stUSDT” เพื่อแสดงว่าคุณมาฝากเงินไว้กับตัว Protocol ใช้เป็นหลักฐานในการ Redeem โดยตัว stUSDT จะใช้ Rebase Mechanism โดยที่จะมีการ Distribute ตัวผลตอบแทนเป็น stUSDT จาก RWA เป็นรอบ ๆ

Asset Performance Report

โดยตัว Report ของทาง Staked USDT จะมีการรายงานผ่านทาง Medium ถ้าเราดูจากระยะเวลาของการลงทุน และวันหมดอายุ มีอายุเพียง 4 เดือน ซึ่งจะเป็นในรูปแบบของ Short Term Bond โดยทาง Protocol จะจัดทำเป็น Daily Report เพื่อรายงานปริมาณการ Rebase กลับไปที่ตัว Platform

Ondo Finance

Ondo Finance เป็น Protocol ที่ทำ Tokenization เกี่ยวกับตราสารหนี้และพันธบัตรรัฐบาล โดยปัจจุบันมี TVL ที่ $534.86M หลังจากมีการเปิดตัวเมื่อ 27 มกราคม 2023 จนถึงปัจจุบันมีการเติบโตของ TVL อย่างสม่ำเสมอ และปัจจุบันมีการขยายการทำงานไปทั้งหมด 6 Chain ได้แก่

  • Ethereum: TVL $409.85M
  • Solana: TVL $53.9M
  • Mantle: TVL $41.7M
  • Polygon: TVL $11.32M
  • Aptos: TVL $10.02M
  • Sui: TVL $8.07M

ในส่วนของผลิตภัณฑ์ทางการเงินของทาง Ondo มีอยู่ด้วยกัน 3 ตัว ได้แก่

1. Ondo USD Yield (USDY)

เป็นการทำ Tokenization ตราสารหนี้ระยะสั้น โดยทาง Ondo จะเป็นคนออก เหรียญที่ถือว่าเป็นตัวแทนของสินทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการวางสินทรัพย์แบบ Over-Collateral จากเหรียญที่สร้างขึ้นประมาณ 3% สาเหตุที่ทำเช่นนี้เพื่อป้องกันเรื่องความผันผวนของราคาสินทรัพย์ที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดยผลตอบแทน ณ ปัจจุบันของตราสารหนี้ระยะสั้นอยู่ที่ 5.2% APY

2. Ondo Short-Term US Government Bond Fund (OUSG)

เป็นการทำ Tokenization ของ ETF พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะสั้น ที่ถือว่ามีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ โดย Ticker ที่อยู่ในตลาด Nasdaq มีชื่อว่า “SHV” ที่เป็นกองทุน ETF ที่บริหารโดย Blackrock ซึ่งผลตอบ ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 4.84%

3. Ondo US Market Fund (OMMF)

เป็นการทำ Tokenization ของกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) ที่มีความเสี่ยงต่ำมาก ๆ เมื่อเทียบกับ ETF พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะสั้น ซึ่งกองทุนรวมตลาดเงินมีสภาพคล่องที่ค่อนข้างสูงระดับ $5T เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะกับคนที่ต้องการความเสี่ยงต่ำ สินทรัพย์มีการแกว่งของราคาที่ไม่มากนัก และสภาพคล่องสูง โดยผลตอบ ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 4.73%

ซึ่งถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทกองทุนอย่าง OUSG และ OMMF จะมีค่าธรรมเนียมที่ลูกค้าที่มาลงทุนจะต้องจ่ายเพิ่มเติม 3 อย่าง นั้นคือ Fund Management Fee, Intermediary Fees และ ETF/MMF Management Fee โดยค่าธรรมเนียมทั้ง 3 อย่างนี้จะถูกจำกัดไว้ที่ 0.15%

โดยบัญชีของลูกค้าที่มาทำการซื้อขาย Tokenized Asset จากทาง Ondo Finance จะต้องผ่านการทำ KYC และผ่านเงื่อนไขการลงทุนกับทาง Ondo ซึ่งเมื่อลูกค้ารับตัว Token ไปแล้วจะไม่สามารถ โอนหรือขายทอดตลาดได้ ตัว Account ที่ทำการซื้อขายกับ Ondo จะถูก Lock ไว้ ทำให้สินทรัพย์ที่ลูกค้าถือดังกล่าว ไม่สามารถนำไปใช้งานได้ต่อบนโลกของคริปโตอย่าง Decentralized Finance (DeFi) ทาง Ondo เลยทำ Service เพิ่มเติมขึ้นมาที่เป็นส่วนของ “Lending/Borrowing Protocol” ที่มีชื่อว่า Flux Finance

รูปภาพที่ 5: Flux Official Website

ซึ่งสินทรัพย์ที่สามารถมาวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ จะอนุญาตให้ใช้เฉพาะ “Ondo Short-Term US Government Bond Fund (OUSG)” เท่านั้นที่จะสามารถกู้ Stablecoin ($USDC, $USDT, $DAI, และ $FRAX) ออกไปใช้งานได้

Matrixdock

ป็น Protocol ที่นำเงินของนักลงทุนไปลงใน Short-term Treasury Bill ที่มีอายุสัญญา (Maturity Date) 6 เดือน และ Reverse Repurchase Agreement ที่มีสินทรัพย์ค้ำประกันโดย US Treasury (Repo) ซึ่งนักลงทุนจะได้ Derivative Token เป็นเหมือนใบหลักฐาน (Receipt) การลงทุนกับ MatrixDock ที่มีชื่อว่า “STBT” โดย Token ดังกล่าวอยู่บน Ethereum Mainnet ภายใต้มาตรฐาน ERC-1400 ซึ่งจะสามารถโอน Token ไปมาได้เฉพาะ Account ของนักลงทุนที่ผ่านกระบวนการ KYC/AML แล้วเท่านั้น และในปัจจุบัน ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2024 มี TVL ที่ $46.47M

RWA ของทาง MatrixDock ถือว่าเป็นสินค้าตัวแรกของ Protocol ที่นำ Risk Free Rate จาก Traditional Finance มาสู่โลกของ Blockchain/DeFi

กระบวนการทำงานของ MatrixDock แบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอน

  • Issue STBT Token
  • Redeem Stable Coin

Issue Token

รูปภาพที่ 6 : กระบวนการ Tokenization ของ Matrixdock Protocol

Redeem Stable Coin

รูปภาพที่ 7: กระบวนการ Redemption จาก Tokenized Asset กลับไปเป็น Fiat ของ Matrixdock Protocol

ตัว STBT สามารถที่จะนำไปให้สภาพคล่องใน Pool “STBT-3CRV Pool” โดยเราสามารถที่จะไปเปลี่ยนเป็น Stable Coin ตัวอื่นได้เหมือนกัน

Tangible DAO

Tangible DAO เป็น Protocol ที่ทำ Tokenization สินทรัพย์ที่อยู่ในโลก Traditional (Real World Asset) ให้เป็น Token และสามารถทำการซื้อขายผ่าน Blockchain Network ได้ โดยสินค้าเหล่านี้จะถูกซื้อขายผ่านทางตัวแทนสินค้าที่เป็น Partner กับทาง Tangible และจะมีตัวกลางในการดูแลสินค้าของลูกค้า (Custody) ที่มีใบอนุญาตในการดูแล โดยปัจจุบัน ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2024 มี TVL ที่ $42.45M หลังการเปิดตัวเมื่อเดือนมิถุนายน 2022 ก็มีการเติบโตของยอด TVL จนสามารถทำจุดสูงสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2023 ที่ $77.6M หลังจากนั้นก็มีการปรับตัวลดลงตลอด โดยขั้นตอนการทำงานจะเป็นดังแผนภาพด้านล่าง

รูปภาพที่ 8: แผนภาพการทำงานของ TangibleDAO
  • ลูกค้าเลือกสินค้าบน Tangible Shop หลังจากนั้นก็จ่ายเงินด้วย Native Stable Coin ของ Tangible (USDR)
  • ตัว Smart Contract ทำการรับเงินและทำการ Mint “Tangible NFT” (TNFT) แล้วส่งกลับไปที่ Wallet ของลูกค้า
  • Smart Contract ส่งคำสั่งลูกค้าไปที่ Tangible Custody แล้วนำคำสั่งนี้ไปซื้อ Real World Asset (RWA) กับผู้ขายที่เป็น Partner กับ Tangible
  • ทาง Custody นำสินค้าเข้าไปเก็บใน Tangible Vault
  • ผู้ซื้อสามารถที่จะ ทำการขาย TNFT เพื่อเก็งกำไร หรือใช้เปลี่ยนความเป็นเจ้าของของ RWA ได้ทุกเมื่อ หรือสามารถที่จะนำ TNFT ไป Redeem เพื่อรับสินค้าจริง ในสินค้าที่ขายแบบ 1 unit ไม่ได้มีการแบ่งขายเป็น Fractional Unit อย่าง Real Estate เป็นต้น

Note: ค่าเงินที่ใช้ในการซื้อขาย TNFT จะใช้เป็น Real-USD (USDR) ที่เป็น Native Stable Coin ของทาง Tangible DAO

ในกรณีที่ ผู้ใช้งาน ซื้อขายสินค้าระหว่าง ผู้ใช้งานด้วยกัน

รูปภาพที่ 9: กระบวนการทำงานของระบบซื้อขายภายใน TangibleDAO Marketplace
  • ตัว TNFT จะถูกโอนจากผู้ขาย ไปยังผู้ซื้อ และมีการคิด Marketplace Fee 2.5% ในการซื้อขายสินค้า
  • ผู้ขายได้รับ USDC จากผู้ซื้อ และ USDC ที่เก็บมาเป็นค่า Fee 2.5% จะถูกแบ่งออกไปเป็น
    • 33.33% จะนำไปใช้ในการ Buy Back & Burn ตัว Native Token ของ Tangible นั้นก็คือ $TNGBL
    • 66.66% จะถูกนำไปแจกจ่าย TNGBL 3,3 กับ Staker

ทาง Tangible DAO เข้ามาแก้ปัญหาอะไรในโลกคริปโต ?

  1. นักลงทุนมองหาสินทรัพย์ทางเลือก เพื่อที่จะลงทุนเพื่อใช้ป้องกันความเสี่ยงในเรื่องอัตราเงินเฟ้อ (Inflation) ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนใน งานศิลปะ, ไวน์, นาฬิกาหรู และของสะสมอื่น ๆ  ซึ่งโดยส่วนใหญ่สินทรัพย์เหล่านี้ มักจะมีสภาพคล่องที่น้อย (illiquid-asset) ทาง Tangible มาเป็นตัวเชื่อมตรงนี้ทั้งการทำการซื้อขายสินทรัพย์ทางเลือกให้ง่ายมากขึ้น สามารถซื้อได้จากทุกมุมโลก และนำสภาพคล่องให้กับตลาด
  2. เนื่องจากนักลงทุนที่ลงทุนในโลกคริปโต ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลที่ค่อนข้างมีความผันผวนสูง และการที่จะมาซื้อสินทรัพย์บนโลกจริงอย่าง RWA นั้น ทำให้นักลงทุนคริปโตต้องออกมาจากคริปโตและต้องมาซื้อขายผ่านระบบของ Traditional Market ทาง Tangible ทำให้นักลงทุนเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องออกจากโลกคริปโตและยังสามารถเข้าถึงสินทรัพย์ที่ Off-Chain ได้ง่ายขึ้น
รูปภาพที่ 10: มูลค่าตลาดของสินทรัพย์ที่อยู่ในตลาดของ TangibleDAO

โดยรายได้จากการทำ Marketplace ตรงนี้ทาง Tangible จะเก็บเป็นค่าบริการในการทำธุรกรรม 2.5% ของปริมาณการซื้อขาย TNFT คำถามก็คือ ตลาดของ RWA ที่อยู่ในกลุ่มของ Collectable Art มันใหญ่แค่ไหน จากตารางข้างต้น เราจะเห็นว่า งานศิลปะ , ไวน์, เครื่องประดับ, หนังสือการ์ตูน, ของเล่น และอื่น ๆ  มีมูลค่ารวมอยู่ที่ $154B เลยทีเดียว ซึ่งตลาดค่อนข้างใหญ่และยังมีพื้นที่ให้ Tangible DAO โตอีกมาก โดยการต่อยอดตรงนี้สำหรับนักสะสมแล้ว สามารถที่จะนำ TNFT ไปใช้ในการเป็นสินทรัพย์ค้ำประกันในโลกคริปโตได้ในอนาคต เพื่อที่จะกู้เงินในโลกคริปโต ออกไปหา Yield เพิ่มเติม โดยที่นักสะสม ไม่จำเป็นต้องขายสินค้าของตัวเองออกไป เราจะเห็นว่ามี NFTFi หลายๆเจ้าทำสิ่งนี้คือการให้นักสะสมนำ NFT มาวางเป็นสินทรัพย์ค้ำประกันกู้เงินออกไปทำกิจกรรมในโลก DeFi ไม่ว่าจะเป็น nftfi หรือ BendDAO เป็นต้น

Fractional RWA

Tangible Fraction คือหน่วยย่อยของ RWA ที่มีการแบ่งให้ซื้อขายได้ เนื่องจากสินค้าบางชิ้นนั้นมีราคาแพงเกินกว่าที่จะซื้อทั้ง Unit ได้ อย่างเช่น อสังหาริมทรัพย์ ทำให้การแบ่งทำเป็นหน่วยย่อย (Fractional Unit) ทำให้คนสามารถทำการซื้อขายเพื่อแชร์ในส่วนผลกำไรและความเสี่ยงในสินค้าชิ้นเดียวกันได้ ยกตัวอย่างเช่น เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ อาจจะซื้ออสังหามาทั้ง Unit ราคา $100K และทำการแบ่งขายบางส่วนกับตลาดเช่น 40% ของมูลค่าที่ซื้อมา โดยมีการวางขายที่ราคา $42K  เพื่อไม่ให้สูญเสียความเป็นเจ้าของของสินทรัพย์นั้นๆ  โดยมีการกำหนดขั้นต่ำในการซื้อขายคือ 1% ของมูลค่าที่วางขายใน Marketplace ทำให้ Unit Size ที่เล็กที่สุดสามารถซื้อขายได้คือ $420 ซึ่ง Fraction Unit เหล่านี้ก็จะถูกส่งไปยังกระเป๋าของผู้ใช้งานหลังจากทำการซื้อขาย โดยที่ Fractional Unit จะถูกทำออกมาในมาตรฐานของ ERC-721 ซึ่งใช้ในการสร้าง NFT เนื่องจากทาง Tangible DAO นั้นได้มี Custody ในการดูแล Physical Asset ที่เก็บไว้ใน Storage การเก็บสินค้าก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายด้วยเหมือนกัน (Storage Fee) ซึ่งค่า Fee ดังกล่าวจะถูกกระจายไปตามจำนวน Fractional Unit แบบเท่า ๆ กัน ซึ่งถ้าเจ้าของ TNFT ไม่จ่ายค่า Fee ดังกล่าวตามกำหนด ตัว Fractional Unit ที่ถืออยู่ก็จะถูก Tangible Protocol สั่งห้ามไม่ให้สามารถซื้อขายได้ และหลังจากไม่จ่ายค่า Fee ครบ 180 วัน ทาง Tangible จะทำการอายัดทรัพย์ในส่วนนั้น

How to mint Real USD

โดยสัดส่วนของสินทรัพย์ค้ำประกัน (Collateral Asset) นั้นจะรักษาระดับของ Real Estate (R.E.) ให้อยู่ในระดับ 50% ซึ่งถ้ามีการลดลงของสัดส่วนตรงนี้ ระบบจะมีกระบวนการปรับให้กลับมาเข้าในสัดส่วนเดิม จากภาพเราจะเห็นว่าสินทรัพย์ดิจิทัลที่สามารถนำมาใช้เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันเพื่อ mint Real-USD (USDR) ออกไปได้นั้น มีด้วยกัน 6 อย่างดังนี้

  • Tangible Native Token ($TNGBL) ที่จะต้องทำการ Mint แบบ Over Collateral ในปัจจุบันมีสัดส่วนอยู่ที่ 30.77%
  • Insurance Fund มีสัดส่วนอยู่ที่ 10.05%
  • Protocol Own Liquidity (POL) บน Pear Protocol มีสัดส่วนอยู่ที่ 29.19%
  • DAI มีสัดส่วนอยู่ที่ 0%
  • Real Estate มีสัดส่วนอยู่ที่ 54.41%
  • USDR มีสัดส่วนอยู่ที่ 0.13%

โดยมูลค่ารวมของสินทรัพย์ค้ำประกันมีมูลค่าทั้งหมด $56,111,698 โดย USDR มี Market Cap อยู่ที่ $45,041,963 (Collateral Ratio: 124.57%) ซึ่ง ณ ปัจจุบันถ้าต้องการ Mint USDR นั้นจะอนุญาตให้ใช้เพียง $DAI ในการ Mint เท่านั้น

รูปภาพที่ 11: มูลค่าของสินทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันแต่ละประเภทในการ Mint ตัว Native Stable Coin ของ TangibleDAO

จุดเด่นของการใช้ Real Estate มาเป็นสินทรัพย์ค้ำประกันในการสร้าง Stable Coin

  • Stable Coin ถูก Backed ด้วยของที่มีมูลค่าจริงๆ อย่าง Real Estate ที่ในระยะยาวตัวมูลค่านั้นจะปรับตัวสูงขึ้นและพร้อมที่จะสู้กับเงินเฟ้อ
  • ผลตอบแทนที่จะได้รับ เนื่องจากตัว Real Estate ได้มีการปล่อยเช่าทำให้ได้ Yield จากการปล่อยเช่า ตรงนี้ตัว USDR จะทำให้หน้าที่เป็น Yield Bearing Token ซึ่งจะแตกต่างจากการถือ Stable Coin ตัวอื่น ๆ  ที่ไม่ได้ผลตอบแทน ต้องนำไปทำ Yield Farming เท่านั้นถึงจะได้ผลตอบแทนกลับมา โดยผลตอบแทนส่วนนี้ที่เป็นค่าเช่าจะมีการเก็บรายวันและใช้กระบวนการ Rebase Mechanism ในการจ่ายผลตอบแทน ส่วนถ้ากรณีที่มูลค่าสินทรัพย์ค้ำประกันนั้นต่ำกว่า 100% ตัวกลไกของ USDR จะนำ 50% ของ Daily Rebase มาทำให้มูลค่าของสินทรัพย์ค้ำประกันกลับไปสูงกว่า 100%

ประเด็นที่สำคัญที่ทาง Tangible แสดงถึงจุดยืนของตัวเอง และได้บอก Concept ของทาง Tangible Native Stable Coin ว่าเป็น “Better Money” มีด้วยกัน 3 ประเด็น

  • Store of Value จากที่กล่าวมาข้างต้นในส่วนของราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการปรับตัวของราคาขึ้นทุกปี
  • Stable Unit of Account มีมูลค่าคงตัว Peg 1 US Dollar
  • Medium of Exchange ตัว Native Stable Coin ของ Tangible จะถูกใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนบน Tangible Marketplace ในการซื้อขาย Tangible NFT (TNFT)
รูปภาพที่ 12: Real USD (USDR) Product Workflow

Backed Finance

Backed เป็น Protocol ที่ทำ Tokenized Asset พวกผลิตภัณฑ์ทางการเงินไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ ทองคำ สินค้าโภคภัณฑ์ หรือแม้กระทั่ง ETF ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในฝั่งของ Traditional Finance โดยตัว Backed มีผู้สนับสนุนโปรเจคไม่ว่าจะเป็น Semantic, Stratos Technology, Gnosis, Stake Capital, Exor Seeds และ Mindset Ventures ซึ่งตัว Backed เองนั้นมีเงินล็อคอยู่ในระบบประมาณ $26.99M (อ้างอิงข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2024) ซึ่งถือว่ายังเป็นจำนวนเงินที่ยังไม่ได้เยอะมากนัก

Backed Token นั้นจะมี Underlying Asset ในการ Backed ตัว Token ในอัตราส่วน 1:1 โดยตัวสินทรัพย์ดังกล่าวจะถูกเก็บไว้กับ Custody ที่ได้รับใบอนุญาตอ้างอิงจาก Swiss DLT act ราคาของ Tokenized Asset จะถูก Track กับตลาดจริง ๆ ของสินทรัพย์เหล่านั้นผ่าน Oracle

ตัว Tokenized Asset ของ Backed จะถูกเรียกแทนว่า “bToken” เป็น Token ที่อยู่ในกลุ่ม ERC-20 Token ซึ่งจะ Support ทั้งบน Ethereum Mainnet และ EVM Chain

Backed Finance - Structure of Tokenization

Product Flow

ซึ่งกระบวนการ Issue หรือ Redeem นั้นจะมีความช้าเร็วขึ้นอยู่กับเวลาเปิดตลาดของ Traditional Market ใน Asset นั้น ๆ โดยราคาจะถูกอ้างอิงจากราคาที่ทาง Backed ทำการซื้อและ Settlement กับทาง Broker โดยผู้ที่ทำการ Issue bToken นั้นจะได้ NAV ณ ราคานั้น พร้อมทั้งจ่ายค่าธรรมเนียมในการ Issue หรือ Redeem Token กับ Backed ตรงนี้จะถือว่าเป็นรายได้หลักของทาง Backed

โดยข้อจำกัดในการใช้ Platform ของทาง Backed คือ เงื่อนไขของการ Issue นั้นต้องผ่านการ KYC และต้องอยู่ในกลุ่มของ Professional Investor ที่จะต้องมีจำนวนเงินขั้นต่ำในการถืออยู่ในบัญชีประมาณ $500,000 CHF หรือต้องเป็น Reseller ที่มีใบอนุญาตอย่างถูกกฎหมายเท่านั้น โดยจะมีปริมาณขั้นต่ำที่ใช้ในการ Issue ตัว bToken อยู่ที่ประมาณ $5,000 ซึ่งพอมีเงื่อนไขตรงนี้เข้ามาทำให้เป็น Barrier to Entry ของ Retail Investor อยู่ดี ไม่สามารถเข้าถึง Product ทางการเงินอย่าง Real World Asset (RWA) ได้

Backed Finance Plan

มีแผนที่จะขยายไปใน Chain ต่าง ๆ  โดยเฉพาะ Ethereum Layer 2 เพื่อประหยัดต้นทุนในเรื่องของ Gas Fee และเรื่อง Scalability ทำให้มีการ Execute ได้ไวขึ้น

รูปภาพที่ 13: ผลิตภัณฑ์ของ Backed Finance

LandX Farming Real World Asset

1. Introduction

ในปัจจุบัน Agriculture เป็นภาคส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก พร้อมทั้งเป็น Sector ที่มีรายได้หรือ Revenue Earning เมื่อเทียบกับ Sectors อื่น ๆ  ที่ค่อนข้างสูง แต่ถึงอย่างนั้น ผลผลิตที่ได้ในแต่ละปีก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของโลก ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาเรื่องของการขาดแคลนอาหาร (Food Scarcity) และความมั่นคงทางอาหาร (Food instability) ตามมา

และอีกปัญหาที่โลกเรากำลังเผชิญอยู่คือ Climate-Change ที่ส่งผลกระทบกันทั่วโลก และทำให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามมา เช่น น้ำแข็งละลายเร็วมากขึ้น และไฟป่าลุกลามในพื้นที่แห้งแล้ง ซึ่งทั้งสองประเด็นส่งผลให้พื้นดินที่เรามีอยู่ในปัจจุบันลดน้อยลง ไม่รวมถึงปัญหาการขยายตัวของเมือง (Urbanization) ที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกปีเป็นปัจจัยที่สำคัญในการทำให้พื้นที่เพาะปลูกเกษตรกรรมน้อยลง

เมื่อเกษตรกรไม่สามารถที่จะคาดเอาสภาพอากาศที่แน่นอนได้ในอนาคต ก็ทำให้ผลผลิตที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวมามีโอกาสน้อยลง หรือหากนำไปขายก็โดนเอาเปรียบจากนายทุน ทำให้เกษตรกรมีตัวเลือกที่ค่อนข้างน้อย และยิ่งทำซ้ำเรื่อย ๆ

เกษตรกรยิ่งมีโอกาสที่จนลง หรือมีสถานะทางสังคมที่น้อยลงเรื่อย ๆ และเมื่อเกษตรกรมีจำนวนน้อยลงเรื่อย ๆ ก็จะส่งผลให้ผลผลิตที่เกี่ยวกับอาหารก็น้อยลงตามไปด้วย และจากข้อมูลของ World Bank บอกว่าเกษตรกรรายย่อยน้อยกว่า 500 ล้านคน ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนล่วงหน้า (Financial Service) ได้

นั่นหมายความว่า สิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้คือเรื่องของ Price Volatility, Global Demand, Weather Condition และ Geopolitical ที่ส่งผลกระทบต่อราคา Commodity ซึ่งปัญหาต่าง ๆ ที่ได้พูดถึงไปนั้น LandX จะเข้ามาเป็นทางเลือกและเป็นทางรอดในอนาคตได้อย่างไรบ้าง ทีมวิจัย Avareum จะพามาทำความรู้จักและทำความเข้าใจให้มากขึ้น

2. What is LandX ?

“LandX is a project which equips farmers to generate real yield from real production.”

LandX เป็นโปรโตคอลที่เข้ามาเป็นสะพานเชื่อมระหว่าง Real World Assts (RWAs) และ Decentralized Finance (DeFi) และเข้ามาแก้ปัญหาระหว่างเกษตรกรรายย่อย (Farmers) ที่ต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนล่วงหน้า และนักลงทุนที่ต้องการ Driversify Portfolio การลงทุนที่หลากหลาย ด้วยการ Tokenized Crop-Share Agreements เป็น Token และได้รับ Real Yield ที่เกิดจาก Real World Production

3. Problems LandX solves ?

“Real Yield from the Real world.”

ในหัวข้อ Introductions ที่ได้ถูกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับ Global เช่น Climate-Change Urbanization Food instability and Scarcity ในส่วนนี้เราจะมาอธิบายเพิ่มเติมว่า LandX จะเข้ามาแก้ปัญหาอะไรที่เกษตรกรและนักลงทุนที่ต้องพบเจอบ้าง

3.1 Farmers

ปัญหาที่เกษตรกรรายย่อยพบเจอได้บ่อยคือ ข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน (Limited Access to Capital) ทั้งการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากภาครัฐ เอกชน หรือเงินนอกระบบ แต่ถึงแม้สามารถเข้าถึงได้ แต่ก็มีเงื่อนไข (Conditions) และข้อจำกัดบางอย่างที่ค่อนข้างเยอะ ทำให้ท้ายที่สุดเกษตรกรเสียผล ประโยชน์ไปอย่างมหาศาล

LandX เข้ามาช่วยให้เกษตรกร (Farmers) สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนล่วงหน้าได้ด้วยการทำ บันทึกข้อตกลงส่วนแบ่งรายได้จากผลผลิตในอนาคต (Crop-Share Agreements) ที่ชื่อว่า Liens เพื่อรับเงินทุนไปใช้ในการเพาะปลูกหรือขยายพืชผลได้ภายในวันนี้

3.2 Investments

ปัญหาที่นักลงทุนเจอในปัจจุบัน คือ Crypto Native Investor ส่วนใหญ่จะลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความ Correlated กัน เช่น หากลงทุนใน Stock Market อยู่แล้ว ก็จะขยายพอร์ตการลงทุนเป็น Cryptocurrency ปัญหาอยู่ที่ หากเมื่อไหร่ที่สินทรัพย์ใดราคาลง ส่วนใหญ่แล้วอีกสินทรัพย์จะลงเช่นเดียวกัน เช่น ในปี 2017 หรือปลายปี 2021 ที่ผ่านมา ทำให้ภาพรวมของ Portfolio ดูไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ หากนักลงทุนไม่ได้ Diversify เพื่อกระจายความเสี่ยงในการลงทุนบน Sector หรือสินทรัพย์ที่หลากหลาย และสินทรัพย์เหล่านั้นไม่ Correlated กัน

LandX เข้ามาช่วยให้นักลงทุนทั้งในส่วนของ Crypto-Native Investors หรือ Traditional Investors ได้กระจายพอร์ตการลงทุนที่หลากหลาย พร้อมทั้งเป็นสินทรัพย์ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน (Uncorrelated Asstes) เนื่องจาก Agricultural Commodities เป็น ประเภทสินทรัพย์ที่มีความผันผวนน้อยกว่า Cryptocurrency และ Stock Markets

4. LandX Products

4.1 xTOKENs - DeFi Diversification.

xTOKENs เป็นตัวแทนของ Perpetual Commodity Vaults และสำหรับทุก ๆ 1 xTOKEN ที่ Staking จะได้รับสินค้าอ้างอิงที่ 1kg ต่อปี

สิ่งที่จะได้รับจากการถือ xTOKENs ได้แก่

  • การได้มีส่วนร่วมในการผลักดันสินค้า Real World Commodities
  • ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ (Inflation Hedge) เนื่องจาก Yield ที่ได้ในรูปแบบเหรียญ cTokens จะขึ้นอยู่กับมูลค่าปัจจุบันของสินค้าใน Real World นั้น ๆ
  • Portfolio Diversification ผ่านการลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน (Uncorrelated Assets)
  • ได้รับ Real-Time Yield จากการ Staking และสามารถ Claim เป็น USDC ได้ตลอดเวลา

4.2 cTokens - Commodity Collateral

cTokens เป็นสินค้าเกษตรของ LandX ที่ออกแบบมาเพื่อใช้อ้างอิงราคาของสินทรัพย์ Agriculture ในโลกจริง โดยใช้ Chainlink Oracle ในการดึงราคาจาก Real World เข้ามาเปรียบเทียบ เพื่อให้แน่ใจว่ามูลค่าของมันสะท้อนถึงสินค้าเกษตรในโลกแห่งความเป็นจริง นักลงทุนสามารถได้รับ cTOKENs ได้ด้วยการ Staking xTOKENs บน Vaults หรือซื้อจาก Secondary Market ก็ได้ และสามารถนำ cToken ไป Swap เป็น USDC ได้ตลอดเวลา

4.3 xBasket

xBASKET เป็นเหมือน Index ของสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ รวมกันทั้ง 4 อย่าง อย่างละ 25% 1 xBAKKET = 0.25 xWHEAT + 0.25 xRICE + 0.25 xSOYA + 0.25 xCORN โดยที่ xBASKET เป็นเหมือน Index ของสินค้าต่าง ๆ ของ LandX ที่ออกมาเพื่อรวบรวมสินค้าทั้งหมดใส่ไว้ในตะกร้าใบเดียว เพื่อกระจายความเสี่ยงด้านราคาที่เกิดขึ้นของแต่ละสินค้า

4.4 xUSD -Stable Coin Backed By Real World Deal.

xUSD เป็น StableCoin ที่ถูก Backed by Underlying Collateral หรือสร้างขึ้นด้วย Crop-Share Agreement โดยที่ xUSD นั้นจะ Pegged กับ US Dollar และใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนใน LandX Ecosystems

4.5 LandX Governance ($LNDX)

LandX มีโครงสร้างการปกครองแบบ Decentralized Autonomous Organization (DAO) โดยมี Native Token เป็นของตัวเองที่ชื่อว่า LNDX ซึ่งอำนาจหน้าที่ และประโยชน์หลัก ๆ ของการถือ LNDX มีดังนี้

  • LNDX Holders จะได้รับส่วนแบ่งจากค่า Fees ที่ Platform เก็บได้ จากการ Staked xToken
  • ใช้เป็น Voting Power ใน Proposal ต่าง ๆ ที่ถูกเสนอขึ้น
  • ใช้เป็น Investment Token

4.6 LandX Choice Fund

LandX Choice Fund เป็นกองทุนที่ได้รับการบริหารจาก LandX เพื่อใช้ในสิ่งที่จำเป็นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Sustainability ในอุตสาหกรรมการเกษตร การให้ความรู้ (Knowledge) แก่ Farmers/FarmlandOwner และการลงทุนในอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดความยั่งยืนใน อุตสาหกรรมให้ได้ โดยมี Program ต่าง ๆ ดังนี้

  • Education for Land Operators
  • ESG Programs, Certification & Research
  • SDG Goal Certifications
  • Financial Inclusion Training
  • Agricultural Monitoring Technology
  • Sustainable Farming Tools

โดยภาพรวมแล้ว $LNDX มีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกในการมีส่วนร่วม การสร้างรายได้ และการกำหนดแนวทางอนาคตของ LandX Protocol เป็นอย่างมาก

5. How LandX works

ก่อนที่จะพาเข้าไปกระบวนการทำงานของโปรเจค LandX เราอาจจะต้องมาทำความเข้าถึงกันก่อนว่า ใครบ้างที่เป็น Participant หลัก ๆ ในโปรโตคอลนี้บ้าง ซึ่งประกอบด้วย Farmers Validator และ Investor

5.1 Participants

5.1.1 Farmers

หน้าที่หลักของ Farmers หรือ Farmland Owners คือ ทำหน้าที่ในการดูแลพืชผลทางการเกษตรให้ออกมาตามสัญญาที่ Commit ไว้กับทาง LandX และจ่ายค่าส่วนแบ่งพืชผล (Crop-Share) ตามวันเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา

5.1.2 Validators

หน้าที่หลักของ Validators เริ่มต้นที่การ Onboarding เกษตรกรรายใหม่ (Onboarding new farmers) หลังจากนั้น ก็ประเมินและตรวจสอบคุณภาพและปริมาณผลผลิตที่จะเก็บเกี่ยวได้ของ Farmers และท้ายสุดคือการตรวจสอบและให้ความช่วยเหลือด้าน Legal กับ Farmers (Validating legal contracts)

5.1.3 Investors

หน้าที่หลักของ Investors คือการให้สภาพคล่องแก่เกษตรกร

5.2 Investment Case

5.2.1
เริ่มต้นจากการที่ Farmers ทำข้อตกลงในการแบ่งผลผลิตในที่ดินนั้น (Crop Share) กับทาง LandX ผ่านสัญญาทางกฎหมายที่ชื่อว่า Lien เพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุน (Capital) จาก Investors เมื่อ Farmers ทำการกู้ยืม (Borrow) จาก LandX ทาง LandX จะ Mint เหรียญ xToken นั้นออกมาตามปริมาณและประเภทของผลผลิตนั้น ๆ ตามที่เขาเพาะปลูก เช่น

  • Rice farmers = xRICE
  • Corn farmers = xCORN
  • Wheat farmers = xWHEAT
  • Soy farmers = xSOY

ขั้นตอนการทำงาน

  • หลังจากที่ Famers ได้รับ xTOKEN นั้น ๆ ตามประเภทสินค้าโภคภัณฑ์ของเขาแล้ว เช่น หาก Farmers Commit ว่าพื้นที่เพาะปลูกนั้นจะให้ผลตอบแทนเป็นถั่วเหลือง 1,000 kg ต่อปี Farmers ก็จะได้รับ 1,000 xWHEAT ตามที่ตกลงไว้ในเอกสาร
  • ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนล่วงหน้า Farmers ก็จะนำ 1,000 xWHEAT ที่ตัวเองมีไปขายแก่นักลงทุนที่สนใจผ่าน LandX Platform (On-Chain)
  • Farmers จะได้รับเงินทุนในรูปแบบเหรียญ USDC เพื่อนำไปใช้ในการขยายกิจการ หรือซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเพาะปลูก จากนั้นทุกปีก็จะนำพืชผลที่เทียบเท่ากิโลกรัมมาให้ LandX และ LandX ก็จะแจกจ่ายไปยัง Investor ในรูปแบบเหรียญ cToken เช่น cWHEAT และหาก Farmers ต้องการที่จะยุติข้อตกลงที่เคยทำไว้กับ LandX สิ่งที่ Farmers จะต้องทำคือการไปซื้อ xTOKEN มาคืน (Buy Back) ตามจำนวนที่เคยตกลงไว้ เช่น หากตอนแรกได้รับไป 1,000 xWHEAT ก็จะต้องคืน 1,000 xWHEAT เหมือนกัน เพื่อเป็นการยุติข้อตกลง และเมื่อ 1,000 xWHEAT ถูกส่งเข้าไปยัง Smart Contract ข้อผูกมัด NFT นั้นก็จะเป็นโมฆะ
  • หลังจากได้ xWHEAT มาแล้วก็นำไป Stake บน LandX Platform
  • Investor จะได้ผลตอบแทนเป็น cWHEAT (Underlying Commodity) เป็น Daily Yield และสามารถนำ cWHEAT ที่ได้ไป Swap เป็น USDC ได้ตลอดเวลา โดยที่ราคา cWHEAT จะอิงจากตลาด Real World โดยใช้ Chainlink Oracle ดึงราคาข้าวสาลีมาว่าราคาเท่าไหร่ ณ ปัจจุบัน

จะได้เป็นสมการ

ดังนั้น ถ้าเรามี 1 cWHEAT จะมีค่าเทียบเท่า 1kg cWHEAT เสมอ ตัวอย่าง เช่น วันนี้ 1 USD สามารถซื้อข้าวสาลีได้ 2kg เมื่อเวลาผ่านไปเป็น 1 ปีหลังจากนี้ 1 USD สามารถซื้อข้าวสาลีได้ 1kg จะเห็นว่า cTOKEN สามารถที่จะป้องกันความเสี่ยงในเรื่องของ Inflation และ Purchsing Power ได้อีกด้วย

6. Security Audit

LandX ได้รับการ Audit จาก Quantstamp ในช่วงเวลา 2022-10-31 - 2022-11-10 ซึ่งทาง LandX ได้รับการแก้ไข Issues ต่าง ๆ แล้วจำนวน 24 Issue จากทั้งหมด 25 Issues

7. Roadmap

ตาม Roadmap ที่ทาง LandX ได้เผยแพร่ออกมานั้น แสดงให้เห็นว่า ณ ปัจจุบันกำลัง Focus ไปที่การ Launching Platform และการทำ Private Fundraising Round พร้อมทั้งมีแผนที่จะ Integration กับ DApps ให้หลาย ๆ หมวดหมู่ เช่น โปรเจคที่ทำเกี่ยวกับ Lending / Borrowing และ Auto-Complouding

โดยปัจจุบัน LandX ยังอยู่ใน Testnet และในอีกไม่นานก็จะปล่อย Mainnet ออกมาให้ใช้งาน และหลังจากที่เปิดตัว Mainnet แล้วมี 2-3 ประเด็นที่น่าจับตาต่อไปก็คือ การออก Stablecoin ที่ชื่อว่า xUSD การดึง Liquidity จาก Real World ให้เข้ามาอยู่ใน Blokchain ได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้มีสภาพคล่องที่เพียงพอ และท้ายสุดคือเรื่องการ Launch เหรียญ LNDX ที่เป็น Governance Token ประจำ LandX DAO ว่าจะแจกจ่ายอย่างไร รวมทั้งการปล่อยกองทุน Index ที่รวมสินค้า 4 ประเภทของ LandX ไว้ในที่เดียวที่ชื่อว่า xBasket ว่าจะทำให้รายได้และ TVL ของ LandX เพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน

8. Future of LandX

ในส่วนของอนาคตของ LandX จะเป็นอย่างไรนั้น โดยในมุมมองของฝ่ายวิจัย Avareum มองว่า ประเด็นใหญ่ ๆ ที่จะช่วยผลักดันมูลค่าของ LandX ให้สามารถอยู่รอดและเติบโตได้ในอนาคต ได้แก่ การมาของ Real World Assets (RWAs) Narrative ที่จริง ๆ แล้วเราอาจจะเคยได้ยินคำว่า Asset Tokenization กันมาก่อนหน้านั้น รวมถึงการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลก ที่ทำให้ Demand ในอาหารที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์มีราคาที่สูงขึ้น และปัญหา Climate-Change ที่ทำให้ การมีอยู่ของที่ดินเพาะปลูกพืชต่าง ๆ มีจำนวนน้อยลงเรื่อย ๆ จากปัญหาไฟป่า น้ำแข็งละลาย ซึ่งปัญหาที่กล่าวไปเบื้องต้นนั้น เรามาดูข้อมูลคร่าว ๆ ของปัจจุบันกันก่อน เพื่อที่เราจะสามารถมองภาพอนาคตได้อย่างไรบ้าง

8.1 RWAs Market Cap

ในปัจจุบัน ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2023 หากเราเข้าไปดูข้อมูลใน DeFiLlama จะเห็นว่า Sector RWA มีทั้งหมด 23 Protocol และมี MCap อยู่ที่ $986.26M นับว่าอยู่ในลำดับที่ 10 จากทั้งหมด 32 Sectors และมี Upside ของการเติบโตที่ค่อนข้างเยอะจาก RWA Narrative ที่ถูกพูดถึงมากขึ้นในปัจจุบัน

8.2 World Population

จากรูปภาพด้านบน แสดงให้เห็นว่า ณ ปัจจุบันจำนวนประชากรโลกทั้งหมดอยู่ที่ 8,045 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นการเติบโต 0.88% จากปี 2022 และในปีจะครบ 10,008 ล้านคนในปี 2058 จากรูปภาพจะทำให้เราเห็นแนวโน้มของประชากรโลกในอนาคตว่าจะมีอัตราการเพิ่มขึ้น (Growth Rate) ที่เยอะขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งตรงกับผลวิจัยของ World Back ที่ประการออกมาว่า ภายในปี 2050 จำนวนประชากรโลกจะสูงถึง 10,000 ล้านคน ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความต้องการด้านอาหารจะเพิ่มขึ้น 70% จากปัจจุบัน

8.3 Globalization and Urbanization

ซึ่งสวนทางกับจำนวนพื้นที่เพาะปลูกด้านการเกษตรบนโลก นับตั้งแต่ปี 2001 พื้นที่เพาะปลูกด้านการเกษตรของโลกคิดเป็นอัตราส่วนอยู่ที่ 36.7% จากจำนวนพื้นที่ดินทั้งหมด แต่หลังจากปี 2001 มีจำนวนน้อยลงเรื่อย ๆ และในปี 2020 อัตราส่วนเหลืออยู่ที่ 36.5%

ในการลดลงนั้น เป็นผลมาจากเรื่อง Globalization และ Urbanization ที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้คือ ที่ดินมีเท่าเดิม หรือน้อยลง แต่คนมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ก็จะส่งผลทำให้ Demand ความต้องการอาหารสูงขึ้น และหาก Demand สูงขึ้น ก็จะส่งผลให้ราคาของสินค้า Commodity ต่าง ๆ สูงขึ้นตามไปด้วย ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ก็ได้มีการนำ Technology และ Innovation ต่าง ๆ เข้ามาช่วย เช่น การใช้ Technology ผลิตอาหารแปรรูปต่าง ๆ ซึ่งก็ถือเป็นทางเลือกอีกทางที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาที่ได้กล่าวไปข้างต้น แต่ถึงอย่างนั้น อาหารก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ จากที่เราได้ฉายให้เห็นถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ก็พอจะทำให้เราทราบว่า LandX จะมีส่วนสำคัญในการเข้ามาแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้

9. Conclusion

เราจะเริ่มเห็นว่า LandX จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเข้ามาแก้ปัญหาระหว่าง TradFi และ DeFi ได้อย่างไรบ้าง และเราจะเริ่มเห็นว่าใน RWAs sector ยังมีพื้นที่ให้เติบโตได้อีกมากจากการที่เราสามารถทำTokenized สินทรัพย์ต่าง ๆ ได้

การที่ LandX จะเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวจะต้องอาศัยระยะเวลาทั้งในส่วนของการนำ Crop-Share มา Tokenized เพื่อทำให้ระบบมีสภาพคล่องที่เพียงพอ รวมถึงการให้ความรู้แก่เกษตรกรในการใช้ Technology เพื่อทำให้ผลผลิตทางการเกษตรสามารถเก็บเกี่ยวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยภาพรวมแล้วฝ่ายวิจัย Avareum มองว่า LandX จะมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรม RWAs ในอนาคตและต้องจับตาดูกันต่อไป


Additional Research

Avareum Market Outlook: Global Economics


Download the report here




Avareum Market Outlook: Crypto Market Overall


Download the report here



Avareum Market Outlook: Bitcoin Analysis


Download the report here



Avareum Market Outlook: Ethereum Analysis


Download the report here



Avareum Market Outlook: Layer 2 Scaling Solution


Download the report here




Avareum Market Outlook: LSD & LSDFi


Download the report here




Download PDF

more reports available at https://www.avareumresearch.com/reports/


Disclaimer: Avareum Research is an independent crypto research firm committed to providing unbiased and informative content. While we strive for complete objectivity, it's important to note that the research industry is inherently complex and may be influenced by various factors. To ensure transparency, we disclose any potential conflicts of interest, such as financial sponsorships or investments in the crypto space. Ultimately, all research and analysis provided by Avareum Research is intended for informational purposes only and should not be considered financial advice. Please consult with a qualified professional before making any investment decisions.

© 2024 Avareum Research. All Rights Reserved. This article is provided for informational purposes only. It is not offered or intended to be used as legal, tax, investment, financial, or other advice.

Read more

Dethrone: From Quantitative Easing to Digital Currencies - What's Next for the Dollar's Status Quo? (TH)

Dethrone: From Quantitative Easing to Digital Currencies - What's Next for the Dollar's Status Quo? (TH)

In the long run we are all dead. - John Maynard Keynes QE กับทฤษฏีเงินเฟ้อ (ตอนที่ 1): Oversupply Always Leads to Devaluation June 2015 นี่คือกฎเศรษฐศาสตร์พื้นฐานที่เราคุ้นเคยกันดี เมื่อน้ำมันล้นตลาด ราคาน้ำมันก็ตกต่ำ เมื่อแรงงานในประเทศมีมากเกินไป ค่

lock-1 By Avareum Research
Crypto Narrative 2024: Web 3.0 and Blockchain Adoption

Crypto Narrative 2024: Web 3.0 and Blockchain Adoption

Introduction to Web 3.0 and Blockchain Technology ประเด็นสำคัญ Web 3.0 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “Semantic Web” หรือ “Decentralized Web” นับเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในโลกดิจิทัล โดยนำเสนอประสบการณ์ส่วนบุคคล ผ่านระบบสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract)

By Avareum Research